One Belt One Road (เส้นทางสายไหม) คืออะไร ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร

เป็นเวลาเกือบ 10 ปี ที่ในแวดวงเศรษฐกิจโลกได้ยินคำว่า “เส้นทาง สายไหม” หรือ One Belt One Road หรือ Belt and Road Initiative กันอยู่ตลอด แต่เคยสงสัยหรือไม่เกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงคืออะไร แล้วจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างไรบ้าง? ลองมาศึกษาข้อมูลในเรื่องนี้ไปพร้อมกับ ThiaSharp ได้เลย
One Belt One Road คืออะไร
หากแปลความหมายโดยสรุป เส้นทาง สายไหม หรือ One Belt One Road คือ เส้นทางเชื่อมต่อด้านการค้า สร้างเศรษฐกิจที่ดีระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน ผ่านช่องทางบก (ถนน, รางรถไฟ) และช่องทางทะเล มีจุดเริ่มต้นสำคัญจากประเทศจีนอันถือเป็นประเทศทรงอิทธิพลด้านเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก จุดประสงค์หลักของการสร้างแนวคิดนี้ขึ้นมาของนาย สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของประเทศจีน เพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อทุกประเทศที่มีเส้นทางนี้พาดผ่าน
ทั้งนี้เมื่อมองไปยังด้านตัวเลขก็พบว่าเส้นทาง สายไหม (One Belt One Road) มีประเทศที่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ถึง 65 ประเทศ แบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค ประกอบไปด้วย เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก (รวมตะวันออกกลาง), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, แอฟริกาเหนือ และยุโรป จำนวนประชากรรวมทั้งสิ้นคิดเป็น 62.3% ของประชากรทั้งโลก มีมูลค่า GDP ทั้งหมดสูงถึง 30% ของมูลค่า GDP โลก การบริโภคภาคครัวเรือนอยู่ที่ 24% ของปริมาณการบริโภคครัวเรือนทั่วโลก เรียกว่าเกือบครึ่งหนึ่งของคนทั้งโลกรวมอยู่ในเส้นทางแห่งนี้ (ข้อมูลจาก chula)
ในส่วนของชื่อที่เรียกว่า เส้นทาง สายไหม มาจากการบ่งบอกนัยยะด้านประวัติศาสตร์ที่ถูกเล่าขานสืบต่อกันว่า จีนมีเส้นทางสายไหมโบราณในการเชื่อมต่อไปยังยุโรปเพื่อการค้า สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศของพวกเขาตั้งแต่ยุค 300 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
เส้นทางสายไหม (One Belt One Road) ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร
แม้ชื่อของโปรเจกต์นี้จะดูดี มีความน่าสนใจ แต่เมื่อมองลึกลงไปในรายละเอียดกลับพบว่าขั้นตอนการเจรจา หรือวิธีดำเนินการต่าง ๆ เลือกใช้วิธีแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่การกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งหมดแล้วทุกประเทศต้องทำตาม เท่ากับว่าในการเจรจากับประเทศบนเส้นทางนี้อาจไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบเสียทีเดียว บวกกับในหลายประเทศยังคงเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงมีเรื่องของเส้นทางการขนส่ง เรื่องความปลอดภัย กฎหมายของแต่ละประเทศ และอื่น ๆ อีกจิปาถะเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้หากคิดจะดำเนินการอย่างจริงจังคงต้องมีเรื่องของเม็ดเงินอีก คำถามคือหลายประเทศจะยอมหรือไม่ที่ตนเองอาจต้องกู้เงินแล้วนำมาเป็นส่วนหนึ่งของแม่บทการพัฒนาโปรเจกต์
หากมองในมุมบวกการเชื่อมต่อกันของหลายประเทศจะเกิดความสะดวกในด้านการเจรจาต่อรอง การขนส่งสินค้า การเพิ่มเม็ดเงินเชิงพาณิชย์ครัวเรือน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศเป็นเรื่องที่ดี แต่เมื่อเจาะลึกไปถึงแก่นกลับยังหาคำตอบไม่แน่ชัดว่าสรุปแล้วเส้นทาง สายไหม จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของโลกได้มากน้อยแค่ไหน หรือจีนอาจพยายามมองหาช่องทางในการก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลกเรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็กำลังเสียเปรียบด้านการค้าอย่างหนัก
ล่าสุดในปี 2565 แนวโน้มค่าเงินหยวนดูจะแข็งตัวขึ้น และมีโอกาสแข็งกว่าดอลลาร์ แสดงให้เห็นการเติบโตของเศรษฐกิจจีนอย่างชัดเจน