|

สถิติเผย การทำ QR Code เมนูอาหาร สร้างประโยชน์ให้ร้านอาหารได้มากกว่าเมนูกระดาษ

QR Code เมนูอาหาร คิวอาร์โค้ด เมนู อาหาร

ด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 บวกกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากในยุคนี้ ส่งผลให้การใช้เมนูอาหารแบบดิจิทัลที่สามารถเปิดได้ด้วยการสแกน QR Code หรือการทำ QR Code เมนูอาหาร กลายเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ขายและผู้บริโภค

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหารก็มองตรงกันว่ารูปแบบการสั่งอาหารดังกล่าวจะยังคงถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องไปอีกนานแม้วิกฤตโรคระบาดในอนาคตจะจบลงแล้วก็ตาม เนื่องจากเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และยอดขายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการทำ QR Code เมนูอาหารเพื่อสร้างเป็น Digital Menu

QR Code เมนูอาหาร ตัวเลือกที่น่าสนใจของร้านอาหารยุคใหม่

หากย้อนกลับไปในจุดเริ่มต้นของ QR Code มันเกิดขึ้นเมื่อปี 1994 ถูกคิดค้นโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่ต้องการติดตามชิ้นส่วนรถยนต์ให้ง่ายขึ้น จากความสะดวกนี้ส่งผลให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในอีกหลายปีต่อมาบวกกับการพัฒนาของมือถือสมาร์ทโฟนที่สามารถใช้กล้องในตัวได้เลย อีกทั้งยังมีระบบสร้าง QR Code ฟรี ให้เราได้เลือกใช้อย่างแพร่หลายด้วย

อย่างไรก็ตามความนิยมในเรื่องของการทำ QR Code เมนูอาหารนี้กลับยังไม่ได้รับความนิยมสูงมากนักกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ่งนี้ถูกพบเห็นได้ทั่วไปในร้านอาหารของสหรัฐฯ โดยเข้ามาแทนที่เมนูแบบกระดาษเพื่อลดการสัมผัสระหว่างบุคคล

Bitly ผู้ให้บริการด้านการจัดการเกี่ยวกับลิงก์ (Shorten URL) ระบุว่า มีการดาวน์โหลด QR Code เพิ่มขึ้นถึง 750% ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ Raleigh Harbor ประธานบริษัท Bitly ก็ตอกย้ำความสำคัญนี้โดยระบุถึงบรรดาร้านอาหารที่เริ่มเข้าใจมากขึ้นว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญมากแค่ไหน นอกเหนือไปจากการเพิ่มความสะดวกเพื่อให้บริการแบบไม่ต้องสัมผัส

ร้านอาหารสามารถปรับเปลี่ยนเมนูที่ต้องการนำเสนอให้ลูกค้าได้ทันทีโดยคำนึงจากองค์ประกอบต่างๆ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ความผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบ และตัวแปรอื่น ๆ อีกมากมาย

ด้านสำนักงานสถิติแรงงานในสหรัฐฯ ระบุว่า ราคาอาหารในการซื้อกลับบ้านมีอัตราสูงขึ้น 0.8% เมื่อเดือนกรกฎาคม และเพิ่มขึ้น 4.6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นั่นแสดงให้เห็นว่าการสั่งอาหารกลับบ้านกลายเป็นอีกวัฒนธรรมที่คนยุคนี้ต้องใช้บริการ

มีหลายร้านในสหรัฐฯ ที่พบเห็นประโยชน์ของการใช้คิวอาร์โค้ดเมนูอาหาร มากกว่าแค่เรื่องของความปลอดภัยในการสั่งซื้อระหว่างผู้ขายกับผู้บริโภค เช่น สามารถระบุชื่อผู้จองโต๊ะอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้คนนั้นมาถึงร้าน หรือการสั่งซื้อสินค้าผ่านโลกออนไลน์ที่กลายเป็นอีกช่องทางสำคัญในยุคที่เกิดปัญหาโรคระบาดครั้งใหญ่ ช่วยให้ร้านอาหารยังคงเดินหน้าต่อไปได้แม้ไม่สามารถเปิดให้บริการตามปกติ

เมื่อมองลึกลงไปในด้านต้นทุนจะพบว่าการนำคิวอาร์โค้ดเมนูอาหารมาใช้งาน จะช่วยลดอัตราการจ้างพนักงานในร้านลงได้เยอะมาก อันถือเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องตระหนักให้เยอะกับช่วงเวลาที่สถานการณ์ไม่เป็นใจ รายได้ลดลง สิ่งเหล่านี้เองจึงกลายเป็นเรื่องที่น่าเอาไปคิดไม่น้อยสำหรับร้านอาหารในเมืองไทย เมื่อชีวิตยังต้องดำเนินต่อการปรับตัวคือเรื่องสำคัญมากจริงๆ

ทั้งนี้ภาระของร้านอาหารในยุคนี้ไม่ใช่เพียงแค่ต้นทุนหน้าร้าน แต่ยังมีค่า GP ร้านอาหาร ที่ถือเป็นอีกต้นทุนที่หนักพอสมควร เช่น ค่า GP ที่ไทยเองก็เฉลี่ยอยู่ที่ 30% ของยอดแต่ละออเดอร์ ถึงแม้ในบางประเทศ​ อย่างเช่น ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้มีการออกกฎหมายควบคุมให้คิดค่า Commission ไม่เกิน 15% แต่อีกหลายประเทศก็ยังไม่มีการควบคุมเรื่องนี้

ที่มา: cnbc

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published.