|

วัยรุ่นยุคใหม่ รู้หรือไม่ HIV ป้องกันได้ด้วยยา PEP และ PrEP

ยา PrEP PEP ป้องกันแอดส์ วิธีการกิน

เชื้อ HIV เป็นสิ่งที่วัยรุ่นบางกลุ่มที่อาจมีความกังวล โดยเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย หรืออาจเกิดเหตุถุงยางอนามัยแตกระหว่างทาง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ HIV หรือ เอดส์ ซึ่งในสมัยนี้ก็มียาที่เข้ามาช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อ คือยา PrEP PEP โดยบทความนี้ ThaiSharp จะพามาทำความรู้จักกับยา 2 ตัวนี้กัน

PEP และ PrEP คืออะไร

ในสมัยก่อน การติดเชื้อ HIV ถือเป็นเรื่องใหญ่ และแทบจะป้องกันได้ยากมากในกลุ่มเสี่ยง แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันที่ได้มีการพัฒนายาในการป้องกันเชื้อ HIV มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเรามียาที่ช่วยลดโอกาสในการติดเอดส์ หรือ HIV ได้แล้ว ซึ่งคือยา PrEP และ PEP โดยจะเป็นยาต้านไวรัส HIV

อธิบายง่ายๆ PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) คือยาสำหรับกินก่อนที่จะมีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ในขณะที่ PEP (Post-Exposure Prophylaxis) คือยาสำหรับกินหลังจากที่มีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV

การใช้ยา PrEP

  • กินก่อน
  • กินเมื่อรู้ว่าอาจจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV โดยเป็นการป้องกันหรือลดโอกาสในการติดก่อนที่จะไปรับความเสี่ยง โดยควรกินทุกวัน วันละ 1 เม็ด แต่กินต่อเนื่องเท่าไหร่นั้น ควรปรึกษาแพทย์ดู
  • ผู้ที่เข้าข่าย เช่น ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือไม่ป้องกัน หากรู้ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ก่อนมีเพศสัมพันธ์ก็กินได้เลย
  • หากกินยานี้อย่างถูกต้องตามแพทย์แนะนำ มีโอกาสลดความเสี่ยงในการรับเชื่อ HIV ประมาณ 90%

การใช้ยา PEP

  • กินหลัง
  • กินหลังจากที่ได้ไปรับความเสี่ยงนั้นมาแล้ว เช่น หลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่เกิดเหตุการณ์ถุงยางแตก เรียกว่าใช้เมื่อฉุกเฉิน
  • จำเป็นต้องกินให้เร็วที่สุดหลังจากไปรับความเสี่ยงมา ถ้าให้ดีคือภายใน 24 ชั่วโมง หรือเต็มที่ ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ต่อเนื่อง 28 วัน หรือตามแพทย์แนะนำ
  • หากกินยานี้อย่างถูกต้องตามแพทย์แนะนำ มีโอกาสลดความเสี่ยงในการรับเชื่อ HIV ประมาณ 70% – 80%

ทั้งนี้ ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์แนะนำและช่วยตรวจหาการติดเชื้อ HIV เพื่อดูว่าควรกินต่อหรือสามารถหยุดได้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับยา PrEP PEP

  • ถ้าหากคุณกำลังกินยา PEP อยู่ และคิดว่าอาจต้องการการป้องกันอีกครั้งในอีกไม่กี่สัปดาห์และหลายเดือนข้างหน้า สามารถลองคุยกับแพทย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้ยา PrEP เมื่อสิ้นสุดคอร์ส เพื่อกินก่อนรับความเสี่ยง ซึ่งมีโอกาสต้านเชื้อได้มากกว่า
  • การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย ยังมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ โดยยา PEP และ PrEP จะช่วยเฉพาะเรื่องเชื้อ HIV เท่านั้น

แหล่งข้อมูล : aidsmap.com, mahidol

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *